วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
1. เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
2. เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล
4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การนำ เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น
- โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร
- วอยซ์เมล (Voice Mail)
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
- การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง
- การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ
- กรุ๊ปแวร์(groupware)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน
- การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
ผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติ
- การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
- การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน
- เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
เป็น รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
ตัวกลางการสื่อสาร
1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
- สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว
- สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
- สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
- แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง ใช้สำหรับข้อมูลระยะใกล้
- สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
- ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสาย การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
- การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
1. ราคา 2. ความเร็ว 3. ระยะทาง 4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
5. ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
1. บลูทูธ (Bluetooth)
2. ไวไฟ (Wi-Fi)
3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ

ความหมาย/ประเภทของ Search Engine

การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เบ็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Seaech Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ





1.Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี

2.Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ

3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการของเรา

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

                              สัญลักษณ์สากลของป้ายสำหรับการดูแลรักษาเสื้อผ้ามีอยู่ 5 รูปแบบด้วยกันคือ


รูปอ่างสำหรับซัก แสดงกระบวนการซัก (โดยใช้มือหรือเครื่องซักผ้าก็ได้)
รูปสามเหลี่ยม แสดงกระบวนการฟอกขาวโดยใช้คลอรีน

รูปเตารีด แสดงกระบวนการรัดเสื้อผ้า

รูปวงกลม แสดงกระบวนการซักแห้ง

รูปวงกลมในสี่เหลี่ยม แสดงกระบวนการทำให้ผ้าแห้ง (หลังจากซักผ้า)


                                                 สัญลักษณ์สากลของกระบวนการซัก

ซักผ้าฝ้าย (ไม่มีขีดด้านล่าง) กระบวนการซักผ้าด้วยเครื่องแบบปกติและกระบวนการปั่นผ้าให้แห้งแบบปกติ

ซักผ้าใยสังเคราะห ์(มีขีดหนึ่งขีด) กระบวนการซักผ้าแบบระมัดระวังและกระบวนการปั่นผ้าให้แห้งแบบระมัดระวัง

ซักผ้าใยขนสัตว์ (มีขีดสองขีด) หมายถึง กระบวนการซักผ้าและปั่นแห้ง ที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง

                                สัญลักษณ์สากลของอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการซักผ้า

ซักผ้าฝ้ายสีขาวและผ้าลินินสีขาว (ปราศจากการตกแต่งชนิดอื่น ๆ

ซักผ้าลินิน หรือ วิสโคส (ปราศจากการตกแต่งชนิดอื่น ๆ ) เมื่อสีที่ย้อมทนทานได้ ณ.อุณภูมิ 60'C

ซักผ้าไนลอน ผ้าใยผสมฝ้ายกับพอลิเอสเตอร์ ผ้าฝ้าย หรือผ้าวิสโคส ที่มีการตกแต่งพิเศษ

ซักผ้าอะไครลิก ผ้าอะซิเตด ผ้าไตอะซิเตด รวมถึงผ้าใยอื่น ๆ ที่นำมาผสมกับใยขนสัตว์

์ผ้าใยผสมกับโพลิเอสเตอร์ กับขนสัตว์

ซักผ้าขนสัตว์ ผ้าใยผสมขนสัตว์กับใยไหม

ซักผ้าด้วยมือ
ลักษณ์สากลของกระบวนการีดผ้า
200'C ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย ผ้าวิสโคส์ Hot iron

150'C ผ้าใยผสมโพลิเอสเตอร์ ผ้าขนสัตว์ Warm iron

110'C ผ้าอะไครลิก ผ้าไนลอน ผ้า อะซิเตด ผ้าโพลิเอสเตอร์ Cool iron

ห้ามรีดด้วยเตารีด เพราะจะทำให้เส้นใยถูกทำลายได้ Do not iron

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเลือกซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย

การเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพ1. การเลือกใช้เสื้อผ้าสวมใส่
การเลือกใช้เสื้อผ้า ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคลิกของผู้สวมใส่ เพื่อให้ผู้สวมใส่ดูดี มีสง่า ซึ่งต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1) ประโยชน์ในการใช้สอย ก่อนเลือกซื้อเสื้อผ้า เราควรคำนึงก่อนว่า เราจะซื้อเสื้อผ้าไปสวมใส่ในโอกาสใด มีความจำเป็นในการซื้อมากน้อยเพียงใด และเสื้อผ้าที่เราจะซื้อมีความทนทานมากน้อยเพียงใด เป็นต้น

2) ความสะดวกสบายในการสวมใส่ ในการเลือกซื้อเสื้อผ้าควรคำนึงถึง ความสะดวกในการสวมใส่ และความสบายขณะสวมใส่เสื้อผ้านั้นๆ เช่น เสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่กับบ้าน ควรเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย มีการดูแลรักษาง่ายไม่ยุ่งยาก แต่เสื้อผ้าที่ใช้สำหรับออก งานกลางคืน ควรเป็นเสื้อผ้าที่หรูหรา มีแบบที่เก๋ไก๋น่ารัก เป็นต้น

3) ความเหมาะสมกับวัยและบุคลิกภาพ การเลือกซื้อเสื้อผ้าสวมใส่ ควรเลือกให้เหมาะสมกับวัยและบุคลิกภาพของตนเอง ดังนี้

วัยเด็ก เสื้อผ้าในวัยเด็ก ควรเป็นเสื้อผ้าที่มีสีสดใส รูปแบบเก๋ไก๋ น่ารัก ไม่รุ่มร่าม เมื่อสวมใส่แล้วสามารถถอดออกง่าย ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป


วัยรุ่น เสื้อผ้าของเด็กวัยรุ่น ควรเป็นเสื้อผ้าที่มีสีสดใสหรือสีอ่อนๆ ก็ได้ แบบของ เสื้อผ้าจะเป็นไปตามความนิยมของแต่ละบุคคล เช่น บางคนชอบแต่งตัวแบบน่ารัก เช่น สวมกระโปรงและเสื้อผ้าสีหวานๆ เรียบร้อย บางคนแต่งกายแบบแคล่วคล่อง ว่องไว สะดวกต่อ การทำงาน เช่น สวมใส่กางเกง และเสื้อที่สุภาพ เป็นต้น แต่ควรเลือกแบบที่สุภาพ และไม่รัดรูป หรือเน้นรูปร่างของผู้สวมใส่มากเกินไป




วัยผู้ใหญ่ เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับคนวัยนี้ มักนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีสุภาพ เรียบร้อย เพื่อให้ดูสง่างาม เหมาะสมกับวัยและบุคลิกภาพของตนเอง


4) รูปร่าง การเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ ควรคำนึงถึงรูปร่าง ดังนี้
คนที่มีรูปร่างสูงใหญ่ ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีลวดลายตามขวางเพื่ออำพรางหุ่นให้ดู กว้างขึ้นหรือเตี้ยลง เช่น ผู้ชายควรสวมใส่เสื้อตามลายขวาง ผู้หญิงสวมใส่กระโปรงบาน เป็นต้น

คนเตี้ย ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีลวดลายตามแนวยาว เพื่อให้ดูสูง เพรียวขึ้น ปกเสื้อที่ใส่ไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้คอสั้นและดูเตี้ยลง


คนอ้วน ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล น้ำเงิน ดำ แดงเข้ม เป็นต้น เพื่ออำพรางหุ่นให้ดูผอมเพรียวลง ส่วนแบบควรเป็นคอแหลม หรือคอวี กระโปรงแคบ รัดรูป ไม่ควรสวมใส่กระโปรงบานและยาว

คนผอม ควรเลือกใช้เสื้อผ้าที่มีสีอ่อนๆ เช่น ชมพู ฟ้า เหลือง เขียวอ่อน เป็นต้น เพื่ออำพรางหุ่นให้ดูอ้วนขึ้น ส่วนแบบเสื้อผ้าควรมีลวดลาย เช่นมีระบายหรือลูกไม้สวยงาม คอเสื้อควรมีปกตั้ง

5) ราคา ก่อนการเลือกซื้อเสื้อผ้าควรสำรวจราคาของเสื้อผ้าหลายๆ แห่งก่อนเลือกซื้อ และเมื่อสำรวจแล้วก็พิจารณาเลือกซื้อแหล่งที่ถูกที่สุด และมีคุณภาพดีที่สุด
2. การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับโอกาสที่ใช้สอย การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะในการใช้งาน มีดังนี้
1) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปงานมงคล หรืองานรื่นเริง เช่น งานแต่งงาน งานวันเกิด งานพบปะสังสรรค์กับเพื่อน ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีสดใส แบบและลวดลายผ้าเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของผู้สวมใส่ ถ้าเป็นงานกลางคืนควรใส่เสื้อผ้าที่มีรูปแบบหรูหรา อาจตกแต่งด้วยเลื่อมที่มีประกายแวววาว เนื้อผ้าควรมีลักษณะมันวาว พลิ้วสวย เป็นต้น
2) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปเที่ยว เช่น ไปเที่ยวชายทะเล ไปสวนสนุก ไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ควรเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วเกิดความคล่องตัว เคลื่อนไหวได้สะดวกสบาย แต่ไม่ควรสั้นหรือรัดรูปจนเกินไป รูปแบบมีลักษณะตามสมัยนิยม
3) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปเล่นกีฬา ควรเลือกชุดกีฬาและรองเท้าให้เหมาะสมกับกีฬาแต่ละประเภท เนื้อผ้าของเสื้อผ้า ควรมีความยืดหยุ่นดี ระบายอากาศได้ง่าย สวมใส่สบาย สะดวก และปลอดภัย ทั้งในขณะเล่นและพักผ่อนอิริยาบท
4) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปงานศพ ควรเลือกเสื้อผ้าที่เรียบและสุภาพ ซึ่งประเพณีไทยนิยมใส่เสื้อผ้าที่มีสีดำหรือขาวเท่านั้น
5) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปติดต่อสถานที่ราชการ ควรเลือกเสื้อผ้าที่สุภาพ เรียบร้อย เพื่อให้ดูสง่างาม น่าเชื่อถือ และเป็นการเคารพสถานที่และบุคคลที่เราจะไปติดต่อด้วย



การเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับรูปร่าง

การ เลือกเสื้อผ้าตามสีผิว
1. คนที่ใบ หน้าแดงเปล่งปลั่ง : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้า สีเขียวชาหรือสีเขียวแก่ ไม่เหมาะที่จะสวมใส่เสื้อสีเขียว สด มิฉะนั้นจะดูไม่ทันสมัย
2. คนที่ใบ หน้าออกเหลือง : เหมาะที่จะสวมใส่เสื้อ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ไม่เหมาะที่จะสวมเสื้อสีน้ำเงินแก่ สีคราม สีกรมท่า มิฉะนั้นจะทำให้ใบหน้าดูเหลืองมากยิ่งขึ้น
3. คนที่มีสีหน้าอิดโรยผิดปกติ : เหมาะที่จะสวม เสื้อสีขาว เพื่อให้แลเสมือนสุขภาพดี ไม่เหมาะที่จะสวม เสื้อสีเทา สีม่วง จะทำให้ดูเหมือนอ่อนเพลียยิ่งขึ้น
4. คนที่มี สีผิวขาวเหลือง : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้าโทน สีอบอุ่นแลดูอ่อนโยน เช่น สีชมพู สีส้ม ไม่เหมาะที่จะ สวมเสื้อผ้าสีเขียวและสีเทาอ่อน มิฉะนั้นจะดูเหมือนเป็น คน “ขี้โรค”
5. คนที่มีสีผิวคล้ำ : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้าสีอ่อน สว่าง เช่น สีเหลืองอ่อน สีชมพูอ่อน สีขาว เป็นต้น ซึ่ง จะสะท้อนความสว่างของสีผิว
6. คนที่มี ผิวไม่ละเอียด : เหมาะที่จะสวมเสื้อที่ทำจาก สิ่งทอที่มีหลากสี มีลายนูนเว้าบ้าง (เช่น ผ้าสักหลาดหยาบ เป็นต้น) ไม่เหมาะที่จะสวมเสื้อทำจากสิ่งทอสีอ่อนที่มี ลวดลายประณีต
การเลือกเสื้อผ้าตามรูปร่าง
1. พยายามหลีก เลี่ยงเสื้อที่มีคอเสื้อเหมือนรูปทรง ใบหน้าของคุณ
(1) คนหน้ากลม ต้องไม่เลือกเสื้อคอ กลม ควรเลือกใส่เสื้อคอ V คอแบะหรือคอเปิด
(2) หากเป็นคนหน้าเหลี่ยม ควรเลือกใส่เสื้อคอ V คอเสื้อ รูปตัว U หรือคอแบะ คอเปิด
(3) หากเป็นคน หน้ายาว ควรเลือกเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง

2. ควรเลือกเสื้อที่ สามารถแก้จุดด้อยของคอ

(1) คนคอสั้นควรเลือกเสื้อคอเปิด คอแบะหรือเสื้อคอต่ำ
(2) คนคอใหญ่ควรเลือกเสื้อที่มีคอแบบจีนคอตั้งหรือคอ เสื้อ ที่แคบแต่ลึก และผูกผ้าพันคอ
(3)คนคอยาวควร เลือก คอปกตั้งและผ้าพันคอที่พันชิดกับคอ

3. การเลือกเสื้อผ้าที่ส่งเสริมจุดเด่น หลีกเลี่ยงจุด ด้อยตามสภาพรูปร่างของแต่ละคน

(1) คนหน้าอกใหญ่ ควรเลือกเสื้อคอเปิดหรือคอต่ำหรือเสื้อหลวมที่มีไหล่ กว้าง เพื่อให้เอวดูเล็กลง
(2) คนหน้าอกเล็ก ควรเลือก เสื้อที่มีคอเปิดเป็นแนวเล็กยาวและเสื้อลายขวาง
(3) คน เอวสั้น ควรเลือกเสื้อคลุมเอวสูงที่จับจีบ หรือกระโปรง อัดพีท
(4) คนสะโพกแคบ ควรเลือกกางเกงทรงหลวม หรือกางเกงที่จีบด้านบน กระโปรงจีบแบบหลวม หรือเสื้อแจ๊คเก็ตตัวหลวม
(5) คนสะโพกใหญ่ ควรเลือก กระโปรงหรือกางเกงที่พอดีตัวและมีส่วนโค้งส่วนเว้า เสื้อ หรือเสื้อกล้ามต้องยาวคลุมสะโพก ถ้าจะให้ดี กระโปรง ควรมีกระดุมเล็กๆ เป็นแถวยาวหรือรอยตะเข็บตรงกลาง
(6) คนที่ขาใหญ่ ควร เลือกกระโปรงที่ขอบเอว กระชับแต่ด้านล่างหลวม กางเกงที่ด้านบนมีรอยจีบหรือ ขาตรงหรือจะเลือกกางเกงขาสั้นหรือกางเกงกระโปรงก็ได้
(7) คนขาสั้น ควรเลือกเสื้อที่เป็นสีเดียวกันหรือเสื้อ เอวลอย



การเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับโอกาส

การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะในการใช้งาน มีดังนี้

1) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปงานมงคล หรืองานรื่นเริง เช่น งานแต่งงาน งานวันเกิด งานพบปะสังสรรค์กับเพื่อน ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีสดใส แบบและลวดลายผ้าเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของผู้สวมใส่ ถ้าเป็นงานกลางคืนควรใส่เสื้อผ้าที่มีรูปแบบหรูหรา อาจตกแต่งด้วยเลื่อมที่มีประกายแวววาว เนื้อผ้าควรมีลักษณะมันวาว พลิ้วสวย เป็นต้น

2) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปเที่ยว เช่น ไปเที่ยวชายทะเล ไปสวนสนุก ไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ควรเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วเกิดความคล่องตัว เคลื่อนไหวได้สะดวกสบาย แต่ไม่ควรสั้นหรือรัดรูปจนเกินไป รูปแบบมีลักษณะตามสมัยนิยม

3) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปเล่นกีฬา ควรเลือกชุดกีฬาและรองเท้าให้เหมาะสมกับกีฬาแต่ละประเภท เนื้อผ้าของเสื้อผ้า ควรมีความยืดหยุ่นดี ระบายอากาศได้ง่าย สวมใส่สบาย สะดวก และปลอดภัย ทั้งในขณะเล่นและพักผ่อนอิริยาบท

4) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปงานศพ ควรเลือกเสื้อผ้าที่เรียบและสุภาพ ซึ่งประเพณีไทยนิยมใส่เสื้อผ้าที่มีสีดำหรือขาวเท่านั้น

5) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปติดต่อสถานที่ราชการ ควรเลือกเสื้อผ้าที่สุภาพ เรียบร้อย เพื่อให้ดูสง่างาม น่าเชื่อถือ และเป็นการเคารพสถานที่และบุคคลที่เราจะไปติดต่อด้วย

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วยประวัติ
 
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี
ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"และ:"นายนพมาศ"
ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
 
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา


วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาตรฐานเกี่ยวกับระบบท่อน้ำ กำหนดเอาไว้

1. ท่อพีวีซีสีฟ้า คือ ท่อน้ำดี หมายถึงท่อ ที่ใช้รับแรงดัน เช่น ท่อที่ต่อไปยังฝักบัว ท่อที่ต่อไปยังก๊อกน้ำภายในบ้าน เป็นต้น

2. ท่อพีวีซี สีเทา คือ ท่อน้ำทิ้ง หมายถึงท่อที่ไม่มีแรงดัน เช่น ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า เป็นต้น

3. ท่อพีวีซีสีเหลือง คือ ท่อร้อยสายไฟภายในบ้าน

ส่วนท่อน้ำร้อน จะใช้ท่อทองแดง ท่อ PB. สีดำ หรือ แบ๊บน้ำที่เรียกว่า ท่อ GSP ก็ได้ จะเลือกใช้ท่ออะไรนั้น วิศวกร และ ผู้ออกแบบบ้านพักอาศัยหลังนั้น จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสม แต่ที่สำคัญ คือ การติดตั้งเครื่องทำความร้อน จะต้องดูแลข้อต่อต่าง ๆ เป็นพิเศษ เพราะเป็นจุดที่เกิดการรั่ว - ซึม ได้ง่าย

โดยมากแล้ว ระบบท่อน้ำจะถูกซ่อนไว้ใต้อาคาร, ในผนัง หรือใต้พื้น หากมีการรั่ว - ซึม จะสังเกตยาก ทำให้เราต้องจ่ายค่าน้ำมากกว่าปกติ เพื่อลดจุดบกพร่องต่าง ๆ โดยเฉพาะรอยต่อทุกจุดของระบบ

จากมิเตอร์ของการประปา ถึงปั๊มน้ำในบ้าน ก็ควรมีถังพักน้ำ เพื่อรองรับน้ำ ไม่ควรสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ เพราะมีผลเสียหลายประการ เช่น ถ้าบริเวณนั้นน้ำไหลน้อย เครื่องสูบน้ำก็ปั๊มอากาศเข้าไปมาก มิเตอร์ก็จะหมุน เหมือนมีการสูบน้ำเข้าไป หรือปั๊มน้ำจะทำให้แรงดันในเส้นท่อลดลง ประกอบกับรอยต่อของเส้นท่อบางจุดรั่ว ก็จะดูดน้ำสกปรกจากภายนอก เข้าไปในเส้นท่อได้ เป็นต้น

ส่วนข้อระวังของการติดตั้งสุขภัณฑ์ ควรติดตั้งตามคำแนะนำ ในคู่มือของแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด เพราะหากละเลยจุดหนึ่ง จุดใดไป อาจเป็นสาเหตุ ทำให้สุขภัณฑ์มีปัญหาภายหลังการติดตั้งได้ เช่น ชักโครกแล้วไม่มีน้ำเอ่อหล่อเลี้ยงในโถชักโครก หรือน้ำไหลลงชักโครกตลอดเวลา เป็นต้น

ปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นข้อบกพร่อง ที่เกิดจากการติดตั้งที่ผิดวิธีทั้งสิ้น

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้วจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษหลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ

     ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก


นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
  • ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน
ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น

2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น






3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System)

คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น