วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วยประวัติ
 
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี
ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"และ:"นายนพมาศ"
ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
 
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา


วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาตรฐานเกี่ยวกับระบบท่อน้ำ กำหนดเอาไว้

1. ท่อพีวีซีสีฟ้า คือ ท่อน้ำดี หมายถึงท่อ ที่ใช้รับแรงดัน เช่น ท่อที่ต่อไปยังฝักบัว ท่อที่ต่อไปยังก๊อกน้ำภายในบ้าน เป็นต้น

2. ท่อพีวีซี สีเทา คือ ท่อน้ำทิ้ง หมายถึงท่อที่ไม่มีแรงดัน เช่น ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า เป็นต้น

3. ท่อพีวีซีสีเหลือง คือ ท่อร้อยสายไฟภายในบ้าน

ส่วนท่อน้ำร้อน จะใช้ท่อทองแดง ท่อ PB. สีดำ หรือ แบ๊บน้ำที่เรียกว่า ท่อ GSP ก็ได้ จะเลือกใช้ท่ออะไรนั้น วิศวกร และ ผู้ออกแบบบ้านพักอาศัยหลังนั้น จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสม แต่ที่สำคัญ คือ การติดตั้งเครื่องทำความร้อน จะต้องดูแลข้อต่อต่าง ๆ เป็นพิเศษ เพราะเป็นจุดที่เกิดการรั่ว - ซึม ได้ง่าย

โดยมากแล้ว ระบบท่อน้ำจะถูกซ่อนไว้ใต้อาคาร, ในผนัง หรือใต้พื้น หากมีการรั่ว - ซึม จะสังเกตยาก ทำให้เราต้องจ่ายค่าน้ำมากกว่าปกติ เพื่อลดจุดบกพร่องต่าง ๆ โดยเฉพาะรอยต่อทุกจุดของระบบ

จากมิเตอร์ของการประปา ถึงปั๊มน้ำในบ้าน ก็ควรมีถังพักน้ำ เพื่อรองรับน้ำ ไม่ควรสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ เพราะมีผลเสียหลายประการ เช่น ถ้าบริเวณนั้นน้ำไหลน้อย เครื่องสูบน้ำก็ปั๊มอากาศเข้าไปมาก มิเตอร์ก็จะหมุน เหมือนมีการสูบน้ำเข้าไป หรือปั๊มน้ำจะทำให้แรงดันในเส้นท่อลดลง ประกอบกับรอยต่อของเส้นท่อบางจุดรั่ว ก็จะดูดน้ำสกปรกจากภายนอก เข้าไปในเส้นท่อได้ เป็นต้น

ส่วนข้อระวังของการติดตั้งสุขภัณฑ์ ควรติดตั้งตามคำแนะนำ ในคู่มือของแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด เพราะหากละเลยจุดหนึ่ง จุดใดไป อาจเป็นสาเหตุ ทำให้สุขภัณฑ์มีปัญหาภายหลังการติดตั้งได้ เช่น ชักโครกแล้วไม่มีน้ำเอ่อหล่อเลี้ยงในโถชักโครก หรือน้ำไหลลงชักโครกตลอดเวลา เป็นต้น

ปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นข้อบกพร่อง ที่เกิดจากการติดตั้งที่ผิดวิธีทั้งสิ้น